Monday, October 10, 2011

NG tube กับการให้ยา (เราต้องรู้อะไรบ้าง)


     วันนี้ก็กลับมาเขียนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรงเลยนะครับ เพราะว่าเรื่อง Dosage form เราเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด กับเรื่อง Dosage form ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเภสัชกรโรงพยาบาล ร้านยา ก็อาจจะได้รับคำถามเกี่ยวกับวิธีการให้ยาผ่านทาง NG tube ทั้งนั้น

     ในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าการพัฒนา Dosage form ของยานั้นมีการพัฒนาไปมาก จึงมีการดัดแปลงให้ยามีรูปแบบการปลดปล่อยยาออกมาช้า เพื่อให้สามารถออกฤทธิ์ได้ยาวนานขึ้น หรือมีการปรับปรุงเพื่อให้ไปเกิดการดูดซึมในบริเวณที่ต้องการ ด้วยความที่ว่าเราเป็นเภสัชกร จึงจำเป็นมากๆ เลยครับที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องของ Dosage form เหล่านี้

    ปัญหาที่มักจะพบกับยาใน Dasage form ดังกล่าวก็ คือ เรื่องการ "หัก" , "บด" หรือ "ให้ทางสาย NG tube" ซึ่งมักเป็นคำถามที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ป่วยในครับ ถ้าเพื่อนๆ เองได้ไปอยู่บน Ward แล้วผู้ป่วยที่ใส่ NG tube ก็ควรจะต้องไปดูเลยว่ายาใดบ้างที่สามารถให้ทาง NG tube ได้

    ที่นี้เราลองมาดูประเด็นของยาที่ให้ทาง NG tube ปัญหาที่สำคัญของการให้ยาผ่านทาง NG tube คือ การบด แกะหรือแบ่งยาให้ทาง NG tube

การแกะ บดหรือแบ่งยาให้ทาง NG tube

    ประเด็นข้อนี้อาจไม่ต้องกังวลเลยก็ได้ ถ้ายาที่ผู้ป่วยได้รับทั้งหมดอยู่ในรูปแบบ Tablet หรือ Capsule ที่ไม่มีรูปแบบพิเศษอะไรเลย ยกตัวอย่าง เช่น ให้ยา Paracetamol 500 mg (อันนี้เห็นภาพชัดที่สุดครับ) เราก็บดเม็ดยาแล้วนำไป Feed ได้เลย

    แต่ที่นี้ถ้ายามันเป็นรูปแบบพิเศษอย่างเช่น Modified release, Sustained release, Extended release หรือแม้แต่พวก Enteric coated เราจะทำยังไงกันดีล่ะ??? เราลองพิจารณาดูกรณีที่เราเจอบ่อยๆ กันดีกว่าครับ

PPIs กับการ Feed ทาง NG tube
   เนื่องจากยา PPIs นั้นเป็น Acid labile จึงต้องทำการ Coat ด้วย Polymer เพื่อให้ยาไปเกิดการดูดซึมที่ลำไส้แล้วไปออกฤทธิ์ยังบริเวญที่ต้องการครับ ที่นี้ปัญหาที่พบเกี่ยวกับยากลุ่มนี้ก็คือ เรื่องการ Feed ยาผ่านทาง NG tube ครับ ขอยกตัวอย่างง่ายเลยก็ คือ Omeprazole กับ Esomeprazole ครับ

ภาพบน Losec (Omeprazole)
ภาพส่ง Nexium (Esomeprazole)


การ Feed Omeprazole

     Omeprazole นั้น Dosage form ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด คือ Enteric  coated capsule ถ้าลองแกะออกมาดูตัว Capsule (ต้องลองแกะดูครับแล้วจะรู้ว่าข้างในมันเป็นยังไง) ภายใน Capsule มี Pellet ที่ถูก Coat ไว้ด้วย Polymer ถ้าเราแกะ Capsule ออกมาแล้วเราไม่ได้บดให้ Polymer มันแตกก็ไม่ทำให้เสียระบบการควบคุมการปลดปล่อยแต่อย่างใดนะครับ

    สำหรับข้อมูลเรื่องการ Feed Omeprazole นั้นลองไปหาอ่านดูได้ที่ Drug information handbook จะเขียนไว้ค่อนข้างละเอียดเลย สำหรับประเด็นที่ได้จากยา Omeprazole คือ ในกรณีที่ยาที่เป็นรูปแบบพิเศษแล้วภายในบรรจุ Pellet ที่ถูก Coat ด้วย Polymer เอาไว้ถ้าเราแกะยาออกมาโดยไม่ได้ทำการบด คาดว่าจะไม่ทำให้ระบบปลดปล่อยยา หรือควบคุมการปลดปล่อยยาเสียไปแต่อย่างใดครับ (ทั้งนี้อาจจะต้องสอบถามจากบริษัทผู้ผลิตหรือหาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ประกอบด้วยนะครับ)

การ Feed Esomeprazole
ภาพ Nexium หักครึ่งแล้วมี Pellet บรรจุอยู่ภายใน


    สำหรับ Esomprazole นั้นก่อนที่เราจะรู้ว่าจะ Feed ได้หรือไม่ต้องมารู้จักกับ Dosage form ที่เรียกว่า MUPS Tablet ก่อนครับ

   MUPS ย่อมาจาก Multiple Unit Pellet System คือ ยาเม็ดที่ได้จากการนำ Enteric coated pellet มาตอกรวมกันเป็นเม็ด ถ้าเราลองแกะเม็ดยา Esomeprazole ออกมาดูก็จะเห็นเป็นเม็ดเลยครับ (ซึ่งเกิดจากการเอา Pellet มาตอกรวมกันนั่นเอง)

     พอเรารู้แล้วว่ายานี้มันก็เป็น Pellet เหมือนกัน (แค่เป็นเม็ด) เราก็ใช้วิธีการเดิมเลยครับก็คือ เอาเม็ดยาทั้งเม็ดมากระจายในสารน้ำ (รายละเอียดทั้งหมดดูใน Drug information handbook ได้เลยครับ) แล้วแกว่งให้เม็ดยาแตกตัวเราก็จะเห็นเป็น Pellet อยู่ในน้ำ
    
     ก็เช่นเดียวกันการ Omeprazole ครับว่าต้องไม่ทำการบดเม็ดยา เพราะจะทำให้ Pellet ที่เป็น Eneric coat นั้นเสียไปได้ครับ

   จากยาทั้ง 2 ตัวนี้ก็เป็นตัวอย่างง่ายที่จะไปประยุกต์ใช้กับยาอื่นๆ เช่น Kapanol ซึ่งเป็น Pellet ที่ถูก Coat อยู่ดังนั้นก็สามารถแกะ Capsule แล้วนำไป Feed ได้ หรือยา Reminyl prolonged release capsule (Galantamine) และ Efexor XR (Venlafexine) ซึ่งภายในเป็น Pellet ที่ถูก Coat ไว้เหมือนกันถ้าเราแกะออกจาก Capsule และนำไป Feed ก็ไม่น่าจะส่งผลต่อระบบการปลดปล่อยตัวยาครับ
Kapanol Capsule ที่ภายในบรรจุ Pellet
Reminyl (Galantamine) Prolonged release capsule
ภายใน Reminyl Capsule ที่บรรจุด้วย Pellet

    สำหรับประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ Dosage form นี้คือ เรื่องขนาดของ Tube ว่าต้องใช้ขนาดเท่าไหร่ถึงจะไม่เกิดการอุดตันอันนี้อาจต้องสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อแนะนำผู้ที่เป็นคนให้ยาต่อไปนะครับ

    สำหรับตัวอย่างด้านบนนั้นเป็นรูปแบบที่แกะแล้วนำไป Feed ได้ต่อมาเป็นรูปแบบที่ Feed ไม่ได้เลยเนื่องจากเราไม่สามารถบดยาได้ เช่น
- MST continus (Morphine)
- Nuelin SR (Theophylline)
- Depakin Chrono (Sodium Valproate)
- Adalat SR (Nifedipine)
    อันนี้เป็นตัวอย่างของยาที่ไม่สามารถบดและให้ทาง NG Tube ได้ถ้าเราจะให้ยาทาง Tube ต้องทำการเปลี่ยนรูปแบบเท่านั้นครับ

   หวังว่าคนที่อ่านเรื่องนี้จบแล้วคงจะพอเอาไปประยุกต์ได้นะครับว่ายาตัวไหนสามารถให้ทาง Tube ได้โดยที่เอาความรู้เรื่อง Dosage มาประยุกต์ใช้กับการทำงานของเรา โดยเฉพาะเรื่องนี้ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโดยตรงนะครับ