Saturday, January 14, 2012

App For Pharmacist (App ดีๆน่าจะมีติดเครื่องไว้)

     วันนี้มาเขียนเรื่องที่เป็นเทคโนโลยีกันบ้างดีกว่าครับ หลังจากได้ใช้ผมได้ลองใช้ iPad, iPod มาแล้วถ้าหลายๆ คนจะซื้อคงอยากมี Application เอาไว้ดูข้อมูลยากัน แต่ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรดีวันนี้เดี๋ยวจะมารีวิว App ที่ใช้อยู่ให้ดูกันครับ
หน้าแรกมีแต่ App ที่ใช้ทำงานส่วนด้านหลังๆ เป็นเกมส์หมดเลย
     อย่างที่ผมเคยบอกไปแล้วว่าโดยส่วนตัวผมรู้ชอบ iPod, iPad และ iPhone เนื่องจากการทำงานที่รวดเร็ว (ถ้าเทียบกับเครื่องอื่นๆ) แล้วก็เล่นไม่ยากเท่าไหร่ หลังจากที่ใช้มาได้ซักระยะนึงก็เลยอยากเอา App ที่ใช้อยู่มาแชร์กันให้ดูว่ามีประโยชน์ยังไง

1. Lex-comp
    ตัวนี้ไม่ต้องอะไรมากมาย เพราะ มันคือ Drug information handbook ที่มีข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเข้ามาก เช่น Drug interaction, Drug ID (ของ America), Calculation และก็อื่นๆ อีกเยอะมาก
หน้าแรกของ Lexi-comp เมื่อเปิดเข้าไปแล้ว
ถ้านึกไม่ออกว่าจะลง App อะไรดี Lexi-comp ก็เป็นตัวเลือกที่ดีครับ เพราะว่าให้ข้อมูลต่างๆ ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยา ข้อมูลโรค ข้อมูลด้านการรักษาโรค (มี Harrison's practice ติดมาให้ด้วย) แต่สิ่งที่เป็นปัญหา คือ ราคาครับเพราะว่าถ้าเป็นตัวจริงราคาแพงมาก แต่ข้อดีของการเสียเงินซื้อ คือ เราสามารถอัพเดตข้อมูลได้ (แต่ผมมักน้อยครับ เอาข้อมูลเท่าที่มีดีกว่า) วิธีการใช้งานก็ไม่ยากเลยพอเปิดเข้ามาแล้วก็จะมีหัวข้อย่อยๆ บอกเอาไว้ แต่ส่วนที่เราจะใช้บ่อยๆ คือ หัวข้อ Lex-Drugs ซึ่งเป็น Drug information การค้นหาก็แค่พิมพ์ชื่อเข้าไป (เป็น Generic หรือ Trade name ก็ได้ครับแต่ถ้า Trade name ต้องเป็นของ America เท่านั้น)
เมื่อลงอพิมพ์ชื่อยาลงไปจะมีมาให้เลือกเยอะเลยแต่เลือกอันไหนก็ได้ครับ
เป็น Monograph ของยาที่เปิดเข้ามาแล้วจริงๆ เลื่อนมาดูข้อมูลได้อีกเยอะมากๆ
สำหรับ Drug interaction แค่ใส่ชื่อยาไปแล้วก็กด Analyze ครับ
     ข้อมูลที่ได้จากใน Lexi-Drugs นั้นเหมือนกับ Drug information handbook เลยครับ บางส่วนก็มีการเพิ่มเติมรายละเอียดเข้ามามากกว่า Drug information handbook ซะอีก  

2. SanfordGuide
     สำหรับเล่มนี้ไม่ต้องพูดอะไรมากครับ มันก็คือ Sanford ที่จับใส่มาในรูป E-book ข้อมูลทุกอย่างจะเหมือนกับใน ตัวเล่ม (ซึ่งตัวหนังสือมันเล็กมากจนอ่านแทบไม่ออก) แต่ข้อมูลที่ให้มานั้นเหมือนในเล่มจริงทุกอย่างครับ แต่อ่านง่ายกว่าเท่านั้นเอง
เปิดเข้ามาใน Program แล้วห้นาตาเป็นแบบนี้ครับ ส่วนใหญ่จะเข้ามาดู Spectrum ในหัวข้อ "Comparison Table"
ข้อมูลที่จะได้จากหนังสือเล่มนี้ที่เปิดอ่านได้ง่ายเลยก็คือ Spectrum ของ Antibiotics ในหัวข้อ Comparison Table เพราะ อ่านได้ง่ายกว่าในเล่มเล็กมาก ส่วนข้อมูลยาอื่นๆ นั้นผมว่าเปิดใน Lex-comp จะดีกว่าครับ
ตาราง Spectrum จะแยกอกเป็นสัญลักษณ์สี และสามารถเลื่อนลงมาได้อีกครับ
     ปกติแล้ว Sanford จะทำเล่มออกมาทุกปี ที่ผมใช้อยู่ปัจจุบันเป็นของปี 2011 ครับยังไม่เห็นของปี 2012 เลย

3. Micromedex
     สำหรับ Micromedex บอกได้คำเดียวว่าให้ Free ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (แต่เพื่อนผมที่ใช้อยู่บางคนก็บอกว่ามันหมดอายุได้) สำหรับข้อมูลนั้นก็เหมือนกับเราเปิด Micromedex เลยครับแต่ว่ามีรายละเอียดน้อยกว่าใน Website มากๆ (ข้อมูลที่ได้มีแต่เฉพาะหัวข้อที่สำคัญๆ) ซึ่งบางครั้งอาจไม่เพียงพอในการใช้ตอบคำถามแต่ว่าก็พอที่จะดูเป็นข้อมูลคร่าวๆ เพื่อนเอาไปค้นต่อได้ครับ
หน้าตาคล้ายๆ กับ Lexi-comp ครับ
     วิธีการใช้งานก็แค่พิมพ์ ชื่อยาลงไปได้ทั้ง Generic (Trade name ก็พิมพ์ได้เหมือนกันแต่เป็นของทาง USA) แล้วก็เข้าไปดูข้อมูลเท่านั้นเองครับ
ข้อมูลยาภายในจะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆ ให้เรียบร้อยแล้ว
    ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เมื่อหาข้อมูลยาใน Lexi-comp ไม่ได้ เพราะว่าข้อมูลที่ใช้มันน้อยมากๆ ดังนั้นก็ใช้เพื่อเปิดข้อมูลยาคร่าวๆ แล้วเอาไปค้นต่อเท่านั้นครับ

4. Medscape
     เป็นอีก 1 App ที่แจกฟรีและอัพเดตได้ตลอดชีวิตเลย ก่อนที่จะอัพเดตได้ต้องไปสมัครสมาชิกที่ Medscape ก่อนนะครับ สำหรับข้อมูลจาก Medscape นั้นเป็นเรื่องการรักษาซะส่วนใหญ่ครับ (ข้อมูลยาก็เปิด Lexi-comp จะดีกว่า)

    ข้อมูลที่ได้ก็น่าเชื่อถือในระดับนึงถ้าเรามีการอัพเดตบ่อยๆ (ปกติจะมีข้อมูลใหม่ๆ มาทุก 2-4 สัปดาห์ครับ) เพราะข้อมูลการรักษาอ้างอิงมาจากแนวทางการรักษาในปัจจุบัน
อันนี้เป็นหน้าตาเมื่อเข้ามาแล้ว ถ้าเชื่อมต่อ Internet อยู่ก็จะมีการแจ้งข่าวใหม่ๆ มาในกรอบสีส้มๆ ครับ ส่วนใหญ่ผมไม่ค่อยเปิดเข้าไปข้างในครับ จะใช้วิธีการ Search จากช่องด้านบนสุดเลย
     สำหรับประโยชน์ของ App นี้ก็ คือ เอาไว้ดูแนวทางการรักษาคร่าวๆ เวลาที่ต้องตอบคำถามและสามารถกด Link ภายในเพื่อไปดูข้อมูลยาได้ทันทีเลยครับไม่ต้องไปเปิดหาอีกรอบ
เมื่อเปิดเข้ามาแล้วก็เหมือนดู Guideline ฉบับย่อเอาไว้เป็นข้อมูลคร่าวๆ ได้
ถ้าต่อ Internet อยู่ก็สามารถ Save รูปภาพมาได้ด้วย
     นอกจากนี้เรายังอ่านข่าวใหม่ๆ ได้จากหัวข้อ News ด้วย (ต้องต่อ Internet ครับ)
หน้าตาของ News ที่มีข่าวอัพเดตให้ได้อ่านกัน
     แล้วประโยชน์อีกอย่างนึงก็คือ Drug interaction check ซึ่งไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่ครับ (เพราะมี Lexi-comp แล้ว)

     สำหรับตัว Medscape นี้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ยังไม่ได้ Jailbreak หรือโหลด Lexi-comp ไม่ได้ก็สามารถนำ Medscape มาใช้แทนได้ก่อนครับ

5. MedCalc Pro
     App ในความเห้นส่วนตัวผมถือว่าเป็น App สำหรับการคำนวนทางการแพทย์ที่ดีมากๆ เพราะเมนูที่สามารถค้นหาที่ใช้ง่ายและภายในก็มีการอ้างอิงข้อมูลที่นำมาให้เรียบร้อย
เมื่อเข้ามาใน App แล้วจะมีสูตรให้เลือก เราก็ใช้วิธีการ Search จากกล่องด้านบน
เมื่อได้สูตรทที่เราต้องการแล้วก็ใส่ค่าต่างๆ ลงไปเพื่อให้คำนวนออกมา
Add caption
     สำหรับ MedCalc Pro นั้นเราสามารถคำนวนได้ทุกอย่างๆ เช่น CHADS2, GFR (มีทั้ง MDRD4 และ Cockroft-Gault), GRACE score, Framingham CV risk และอื่นๆ อีกมากมายเลยครับ นอกจากนี้เราสามารถ Favorite สูตรที่เราเรียกใช้บ่อยๆ รวมทั้งบันทึกข้อมูลคนไข้ของเราได้ด้วย (อันนี้ไม่เคยยทำเหมือนกันครับ)

     แต่การใช้ App นี้ก็ควรจะต้องรู้ก่อนนะครับว่าสูตรที่ต้องการใช้ ชื่อว่าอะไร เพราะถ้าเราเข้ามาแบบไม่รู้อะไรเลยก็จะหาไม่เจอครับ

6. CHMate
     สำหรับ CHMate ไม่มีอะไรมากครับเป็นแค่ App สำหรับอ่านเอกสาร CHM file เพราะปัจจุบันนี้ E-book หลายๆ เล่มจะทำให้อยู่ในรูป CHMate เช่น Pharmacotherapy 8th ดังนั้นถ้าไม่มี App นี้เราก็ไม่สามารถเปิด CHM ได้ (ไม่เหมือน PDF ซึ่งเปิดจาก iBook ได้ครับ)
รายชื่อหนังสือสามารถเปิดได้จากรูปชั้นหนังสือด้านซ้ายบนสุดครับ
ตัวอักษรสามารถขยายขนาดได้ตามที่เราต้องการเลยครับ ถ้าต้องการค้นหาก็กดที่รูปแว่นขยาย ด้านบนขวามือ
เราสามารถ Save รูปจาก E-book มาใน Gallery ได้ด้วย
     ภายใน App เราสามารถทำการ Hilight ข้อความ, ทำ Book mark ได้, แล้วก็สามารถ Copy รูปภาพจากหนังสือเข้าไปใน Album (ซึ่งการอ่านใน Computer ไม่สามารถทำได้ครับ), แล้วยังเลือกปรับขนาดตัวอักษรตามที่เราต้องการได้ด้วย

     นอกจานี้เรายังสามารถ Search ข้อมูลที่เราต้องการภายใน E-book ได้ด้วย สำหรับผมแล้ว CHMate เป็น App ที่ดีในการใช้อ่าน E-book แต่ยังไงก็ตามผมก็ยังชอบอ่าน PDF มากกว่าครับ เพราะตัวอักษรอ่านง่ายกว่าแล้วก็เป็นระเบียบมากกว่า (ถ้า CHM ขยายขนาดแล้วมันจะกระจายไปบางทีก็อ่านไม่รู้เรื่อง)

     สำหรับที่เอามารีวิวให้ดูวันนี้ คือ App ที่ผมใช้บ่อยๆ แล้วก็เห็นว่าเป็นประโยชน์ทั้งตอนฝึกงานแล้วก็ตอนที่ทำงานจริงๆ แต่ถ้าใครที่มีแล้วแนะนำว่าให้ลองเปิดเล่นดูครับ เพราะอย่าง Lexi-comp ตอนนี้ผมยังเล่นไม่หมดเลย

     แต่สำหรับเครื่อง Smart phone อื่นๆ ผมไม่สามารถบอกได้ครับว่ามี App อะไรบ้าง เพราะ ไม่เคยใช้เหมือนกัน คงต้องรอให้มีโอกาส (ยืมคนอื่นใช้ก่อน เพราะคิดว่าไม่ซื้อแล้วครับ) ก่อนแล้วจะเอารีวิวให้ได้อ่านกัน