Friday, October 14, 2011

Madopar มีตั้ง 3 แบบเลือกยังไงดี ???


   ในที่สุดก็ได้เวลากลับมาเขียนเรื่องที่ชอบเป็นการส่วนตัวแล้วครับ ผมเชื่อว่าหลายๆ คนอาจสงสัยก็ได้ว่าทำไม Madopar ถึงจำเป็นต้องมีหลายๆ แบบแล้วมันจะมีประโยชน์อย่างอื่นอีกไหม นอกจากว่าทำให้ออกฤทธิ์ได้นานขึ้น หรือ Onset เร็วขึ้น ???

    ในผู้ป่วย Parkinson's disease จะเกิดพยาธิสภาพภายในสมองส่วน SNc ทำให้การสร้าง Dopamine Nigrostriatal tract ลดลงส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหวได้ การรักษาในปัจจุบันมียาอยู่ด้วยกันหลายๆ แต่ในวันนี้เราจะพูดถึงแค่ยา L-dopa ครับ

    Madopar ประกอบไปด้วยตัวยาสำคัญ 2 ตัว คือ L-dopa ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้าง Dopamine และ Benzerazide ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้ง Peripheral Dopa Decarboxylase (DDC : ทำหน้าที่เปลี่ยน L-dopa เป็น Dopamine ที่ Peripheral) ทำให้ L-dopa สามารถผ่านเข้า Blood brain barrier ได้มากขึ้นและยังช่วยลดอาการไม่พึงประสงค์เช่นการเกิด Nausea, Vomiting ได้ด้วย

    Madopar ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้นมี Dosage form อยู่ด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่
    -  Madopar Tablet
    -  Madopar Dispersible Tablet
    -  Madopar HBS Capsule

    ความแตกต่างระหว่าง Dosage form ของยาทั้ง 3 ตัว คือ Pharmacokinetics profile ตามตารางด้านล่างครับ

    ผลจากการที่ยามีความแตกต่างในแง่ของ Pharmacokinetics profile นั้นจะทำให้เราเลือกใช้ในคนไข้ไม่เหมือนกัน เราลองมาดูกันทีละตัวเลยดีกว่าครับ

Madopar Tablet

    สำหรับ Madopar table คือ ไม่ได้มีความพิเศษอะไรเลยครับก็ คือ ยาเม็ดธรรมดาที่สามารถบดได้แบ่งได้ เท่านั้นเองครับ

Madopar Dispersible Tablet

    สำหรับ Madopar Dispersible Tab มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถแยกตัวได้เร็วกว่ารูปแบบ Tablet จึงสามารถออกฤทธิ์ได้เร็วกว่า ถ้าเราลองพิจารณาถึงการที่ Dispersible tablet สามารถออกฤทธิ์ได้เร็วจะสามารถนำมาใช้ได้ตามนี้ครับ

- Delayed on
    เพราะว่าผู้ป่วยบางกลุ่มนั้นหลังจากใช้ยาไปซักระยะเวลาหนึ่งแล้ว Onset ของยายืดออกไป ดังนั้นวิธีการแก้ไข คือ การใช้ยาที่มี Onset เร็วขึ้น คือ Dispersible tablet แทนที่ยาตัวเดิมนั่นเองครับ

- Early akinesia
    ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น คือ ระดับยา L-dopa ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ก่อนจะถึงยามื้อถัดไป เช่น

    ผู้ป่วยรับประทานยา Madorpar ก่อนนอนแต่ว่าตอนเช้าหลังจากตื่นขึ้นมาแล้วผู้ป่วยมีอาการแสดงของ PD (ระดับยาตอนกลางคืนไม่เพียงพอที่จะควบคุมอาการถึงตอนเช้าก่อนรับประทานยามื้อถัดไป)

    ผู้ป่วยรับประทานยาตอนเช้าแล้วก่อนการรับประทานยามื้อกลางวันมีอาการแสดงของโรคขึ้นมา (ระดับยาตอนเช้าไม่เพียงพอที่จะควบคุมอาการก่อนการรับประทานยากลางวัน)

    วิธีการแก้ไขปัญหานี้สามารถทำได้หลายวิธีครับ (ไว้เขียนในตอนหน้า) เป้าหมายในการรักษาก็คือ รักษาอาการให้หายไปเร็วที่สุด ดังนั้นยาที่ควรเลือกใช้ คือ Madopar dispersible ซึ่งมี onset เร็วครับ

   สำหรับวิธีการใช้ก็นำยามาละลายในน้ำ 1/4 ของแก้ว ให้ยากระจายเป็นน้ำสีขาวขุ่นแล้วดื่มให้หมดภายใน 30 นาที (ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมอ่านจากเอกสารกำกับยาได้เลยครับ)

Madopar HBS Capsule

    HBS ย่อมาจาก Hydrodynamically balance system ซึ่งเป็นระบบควบคุมการปลดปล่อยยาให้มีระยะเวลาออกฤทธิ์ที่ยาวนานขึ้น และเนื่องจากระบบดังกล่าวจะทำการปลดปล่อยยาออกมาช้าจึงไม่ทำให้เกิด Peak จากจุดนี้เราก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายๆ เลยครับ

ภาพแสดงกระบวนการแตกตัวของ Madopar HBS
เปลือก Capsule เริ่มละลายออก

เมื่อตัวยาภายใน Capsule สัมผัสกับน้ำจะเกิดกลายเป็น Gel ลอยอยู่


ภาพข้างบนนี้จะเห็น Gel ที่เกิดจากยา Madopar HBS ลอยตัวเหนือน้ำ


- Motor fluctuation
   เนื่องจาก Motor fluctuation นั้นมาจากการที่ระดับยาในเลือดไม่คงที่ผู้ป่วยจึงมีอาการ On-Off เกิดขึ้น ดังนั้นการใช้ยาที่มี Duration ยาวนานขึ้นจึงมีประโยชน์ในการแก้ไขภาวะ Motor fluctuation ของผู้ป่วย

- Peak dose dyskinesia
   เนื่องจากการใช้ Madopar tablet และ dispersible ซึ่งเป็นรูปแบบ immediate release ดังนั้นจึงอาจทำให้เกิด Peak dose dyskinesia ได้

   Madopar HBS นั้นมีอาการออกฤทธิ์ที่ยาวนานและไม่เกิด Peak ดังนั้นผู้ป่วยที่เกิด Peak dose dyskinedia จึงสามารถแก้ปัญหาโดยใช้ Madopar HBS ได้

   จากข้อมูลของยาทั้ง 3 ตัวจะเห็นได้ว่าประเด็นของการเลือกใช้ยานั้นไม่ได้ดูแค่ที่ตัวยาเพียงอย่างเดียวแต่ยังต้องดูไปถึงว่า Dosage form ที่ทำขึ้นนั้นเหมาะกับผู้ป่วยแบบไหน ครั้งนี้เป็นเรื่องยาถ้าใครยังไม่เข้าใจหรือเห็นภาพการนำไปใช้ไม่ชัดเจน รออ่านเรื่องต่อไปก่อนนะครับแล้วจะเข้าใจมากยิ่งขึ้น