Friday, March 4, 2011

33 ข้อ แนวคิดหรือจำเป็น???


    วันนี้มาอ่านเรื่องสบายๆ ดีกว่าครับ เป็นเรื่องของ JC (Journal club) [บางคนเรียก "เจอเน่า คลับ"] เป็นการนำการศึกษาใหม่มาอัพเดตให้ฟังกันถ้วนหน้าครับ และมักจะมีการประเมินวรรณกรรมด้วย (ผมรู้ว่ามีแต่ไม่เคยทำ ><)


     การประเมินวรรณกรรม 33 ข้อจะใช้เกณฑ์ของ University of Illinois at Chicago ผมเองยังไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจังนะครับ แต่ผมเองคิดว่าการประเมินวรรณกรรมทั้ง 33 ข้อนี้ใช้เป็นแนวคิดได้ แต่ใครจะทำทั้งหมดหรือไม่เป็นอีกเรื่องนึงแล้วแต่คนจะเลือกว่าทำหรือไม่

     ที่ต้องบอกว่ากสรประเมินวรรณกรรมเป็นแนวคิด เพราะ ว่าถ้าเราดูพฤติกรรมของเราเองตอนหา Paper ทำ JC ก็คิดคล้ายแบบนี้เหมือนกันแต่มันจะบางข้อที่เราคาดไม่ถึงด้วยลองมาดูกันเลยว่า 33 ข้อมีอะไรบ้าง ใครเห็นด้วยไม่เห็นด้วยแต่ละข้อแสดงความคิดเห็นได้เลย

คำถามด้านล่างและคำตอบลองอ่านเล่นดูนะครับว่าคิดเหมือนกันรึเปล่า

ข้อสังเกตทั่วไป
1.ชื่อเสียงของวารสารที่ตีพิมพ์บทความดังกล่าวเป็นอย่างไร มีคณะกรรมการที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมทำการประเมินทางวิชาการหรือไม่
    ถามมาได้ ถ้าวารสารไม่มีชื่อเราจะรู้จักรึเปล่า???

2.ชื่อของบทความ มีการสื่อความหมายไปในทำนอกเดียวกันกับบทความหรือไม่ ผู้เขียนมีการแสดงอคติหรือไม่
    ถ้าอ่านชื่อเรื่องแล้วมันไม่ตรงกับที่เราอยากได้เราจะเอามาทำรึเปล่าครับแล้วการศึกษาใหญ่ๆ เวลาที่อ้างอิงเคยอ้างชื่อเต็มรึเปล่าเห็นแต่ชื่อย่อ แล้วทำไมไม่เอาเรื่องการประเมินชื่อย่อมาด้วยละครับ

3.คุณสมบัติของผู้ทำการวิจัย เหมาะสมที่จะดำเนินการศึกษาเชิงทดลองทางคลินิกเรื่องดังกล่าวหรือไม่
    เราไม่ได้ตัดสินท่านจากการดูตำแหน่งของท่าน (เรื่องจริงนะ) เราตัดสิน Protocol ของท่านด้วยตัวของเราเองต่างหาก แล้วเราก็ไม่ได้สนใจที่ท่าน Discuss มาหรอกเพราะสรุปแล้วเราก็ต้อง Discuss ของเราเองเยอะกว่าอีก 555

4.ผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาคือหน่วยงานใด มีส่วนที่ทำให้เกิดอคติต่อผลการศึกษาหรือไม่
    ถามจริงๆ ครับถ้าเป็นยาใหม่เม็ดละ 2,000 บาทใครจะใจบุญออกเงินให้ล่ะครับ

5.สถานที่ที่ทำการศึกษาเหมาะสมหรือไม่
    จะไปรู้ไหมเนี่ยก็ไม่ได้อาศัยในแถบยุโรปหรือ USA ด้วยอยู่แต่ไทยนี่ล่ะครับหลากหลายพอรึเปล่าไม่รู้แต่ไม่เคยเห็นมาทดลองในไทยเราเลยน้า

6.บทความดังกล่าวมีการอ้างอิงถึงบทความอื่นๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปทางการแพทย์หรือไม่ และมีการอ้างอิงถึงบทความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ล่าสุดหรือไม่
    ต้องอ้างอิงสิครับเพราะถ้าผลของเค้าไม่ดี เค้าก็จะอ้างว่า Trial นี้ได้ผลนะแต่ Trial เราไม่ได้ผลเพราะอะไร 1......2.....3......4....... หรือไม่งั้นก็พูดว่าความแตกต่างนู่นนี่แยะเยอะไปหมด (แล้วตอนเลือกทำไมไม่คัดเข้ามาดีๆ ล่ะเนี่ย)

บทคัดย่อ (Abstract)
7.บทคัดย่อครอบคลุมหัวข้อ Objective, Study design, Setting, Patients, Intervention, Main outcome measures, Results and Conclusion หรือไม่
บทนำ (Introduction)
    เวลาอ่าน Abstract ต้องการอะไรครับถามตัวเองก่อน เราไม่ได้จะเขียนซะหน่อยถึงต้องประเมินจนครบ

8.มีการกล่าวโดยย่อถึงผลการศึกษาที่ได้มีการดำเนินการศึกษามาก่อนหรือไม่ มีการกล่าวถึงสาเหตุของการจัดทำการศึกษาครั้งนี้หรือไม่
    ถ้าไม่มีใครล่ะครับที่ต้องคิดเอง ก็ตัวเรานั่นล่ะครับที่ต้องรู้หรือไปดูว่ามี Background หรือแนวคิดอะไรจึงออกมาเป็นการทดลองนี้

9.มีการกล่าวถึงสมมติฐานหรือวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างชัดเจนหรือไม่
    มีอยู่แล้ว เพราะถ้าไม่มีคนอ่านก็ต้องตามหาให้ได้อยู่ดีว่ามันไปอยู่ใน Paper อื่นรึเปล่า

วิธีการวิจัย (Methodology)
10.รูปแบบของวิธีทำการศึกษา (Study design) เหมาะสมกับสมมติฐานหรือไม่ มีจริยธรรมหรือไม่
    อันนี้ Paper ที่เลือกมาส่วนใหญ่เป็น Randomized อยู่แล้วที่นี้ก็ไปจำแนกรายละเอียดปลีกย่อยเองต่อครับ

11.มีการกำหนดเกณฑ์โดยละเอียดของการคัดเลือกผู้เข้าร่วมการศึกษา การคัดออกจากการศึกษาหรือไม่
    ถ้าบอกเกณฑ์เข้า เกณฑ์ออกมันก็ต้องเป็นอะไรที่ตรงข้ามกันสิครับเรามีหน้าที่ประเมินว่าเหมาะสมหรือไม่ เข้ากับโรคของเราได้รึเปล่า

12.จำนวนของผู้เข้าร่วมการศึกษาเหมาะสมหรือไม่ สามารถเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรเป้าหมายได้หรือไม่
    เค้าคำนวนมาแล้ว ถึงไม่ถึงอีกเรื่องนึง (บางโรคหาคนไข้ยากนะครับ) บาง Trialก็ชอบอ้างว่า Power ไม่พอเป็นประจำ ส่วนความหลากหลายนี้ต้องพิจารณาเป็นรายๆไป

13.ลักษณะต่างๆ ของกลุ่มศึกษา (เช่น ช่วงอายุ เพศ ความรุนแรงของโรค เป็นต้น) มีการแจกแจงอย่างเหมาะสมหรือไม่ และถ้ามีกลุ่มควบคุม ลักษณะต่างๆ ขั้นต้น มีความแตกต่างจากกลุ่มการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่
    อันนี้เกี่ยวกับเราเต็มๆ เพราะต้องวิจารณ์ให้ดี วิเคราะห์ให้ได้ว่าผู้ที่ร่วมทำการทดลองเหมาะหรือไม่เหมาะ Baseline ที่เป็นโรคจัดอยู่ขั้นไหนแล้วยาที่ทำการทดลองไปมีผลอย่างไรบ้างถ้าทำแล้ว Stage นี้ดีจะเอาไปใช้ใน Stage ที่ต่ำกว่าได้รึเปล่า

14.กลุ่มควบคุมมีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่
    อันนี้ไม่รู้ว่าจะแปลยังไง

15.วิธีการเลือกตัวอย่างประชากรเป็นการสุ่มตัวอย่างที่แท้จริงหรือไม่
    อันนี้ไม่รู้จะตอบยังไงดี เพราะตอนทำครั้งแรกเค้าก็เขียนว่า Randomise แต่บางอันก็ไม่ได้บอก

16.ขนาดของการรักษา ความถี่ และระยะเวลาของการให้การรักษาเหมาะสมและเทียบเคียงในแต่ละกลุ่มหรือไม่
    ได้เวลาเป็นเภสัชกรทำงานแล้ว เราต้องรู้ก่อนว่ายาที่ใช้ในการทดลองเป็นยาอะไรมีข้อบ่งใช้หรือมีกลไกที่คาดว่าเอามาใช้ได้รึเปล่าแล้วถ้าเอามาใช้แล้วขนาดต้องเป็นเท่าไหร่ดี ความถี่เท่าไหร่หาข้อมูลง่ายมากครับ Drug information handbook เลยมีหมดแน่นอน

17.ถ้าใช้บุคคลกลุ่มเดิมเป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม ได้มีช่วงระยะเวลาพัก (Washout period) เพียงพอหรือไม่
   อันไหนไม่มีข้ามไปเถอะครับ

18.กลุ่มตัวอย่าง (กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มควบคุม) สามารถรับประทานยาอื่นร่วมด้วยหรือไม่ มีการควบคุมเกี่ยวกับการได้รับยาชนิดอื่นหรือไม่
    อันนี้เป็นประเด็นเลยครับ เพราะบางการศึกษาดูๆไปแล้วทำไปทำมา ทุกกลุ่มได้ยาเหมือนกันหมดเลยแล้วจะแปลยังไงล่ะเนี่ย

19.การศึกษาเป็นลักษณะปกปิด (เช่น single blind, double blind เป็นต้น) หรือไม่
    ถ้าทำการทดลองยาพ่นกับยาเม็ดจะปกปิดยังไงล่ะเนี่ย *___*

20.ถ้ามีผู้สังเกตการณ์ คุณสมบัติของผู้สังเกตการณ์มีความเหมาะสมหรือไม่ มีการใช้เทคนิคการปกปิด (blind technique) กับผู้สังเกตการณ์หรือไม่
    ผู้สังเกตการณ์ถ้าไม่บอกล่ะ จะทำไงดี???

21.มีวิธีวัดถึงประสิทธิผลของการรักษาหรือไม่
   มันต้องมีอยู่แล้วครับแต่เหมาะสมที่จะเป็นตัวชี้วัดหรือไม่นั่นอีกเรื่องนึง

22.วิธีชี้วัดเป็นการประเมินทาง subject หรือ objective หรือไม่
    ถ้าเป็น Antidepressant จะวัดยังไงล่ะเนี่ย (สงสัยต้องเจาะดูว่า Hippocampus โตรึยัง) ก็เป็นธรรมดาที่มันจะมีวิธีที่เป็น Subjective บ้าง Objective บ้าง

23.ความเชื่อถือได้ ความจำเพราะเจาะจง หรือความเชื่อถือได้ทางวิธีชี้วัดเป็นอย่างไร ควรมีการใช้วิธีการอื่นที่สามารถเชื่อถือได้มากกว่าหรือไม่
    เราต้องวิเคราะห์อยู่แล้วหรือต้องไปดูมาแล้วนะครับว่า วิธีการที่ใช้วัดได้รับการยอมรับรึเปล่า

24.มีการติดตามผลการรักษานานเท่าใด นานเพียงพอหรือไม่
    อันนี้ถือเป็น Point เลยเพราะว่าถ้าใช้ยานานไม่พอจะไม่เห็น Outcome เช่น ทำการทดลองเรื่อง Diabetes nephropathy แต่ทดลอง 3 เดือนจะไปเจออะไรละเนี่ย

ผลการศึกษา (Result)
25.มีการนำเสนอผลการศึกษาอย่างชัดเจน ถูกต้อง และเพียงพอหรือไม่
    ถ้าผลไม่ดีไม่ชัดเจนพอสมควรใครจะตีพิมพ์ล่ะครับ

26.มีการนำเสนอผลการศึกษาทั้งหมดหรือไม่
    ถ้าไม่มีทั้งหมดอาจไปตีพิมพ์ที่อื่นด้วยก็ได้

27.มีการอธิบายหรือให้รายละเอียดของกลุ่มที่ต้องการออกจากการศึกษากลางคัน (drop out) หรือไม่
    อันนี้ต้องบอกอยู่แล้วเพราะถ้าไม่บอกเราเอาเป็นจุดออ่นข้อบกพร่องเลย

28.วิธีวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้เหมาะสมหรือไม่
    อันนี้ขอผ่านครับ

การอภิปรายและสรุปการศึกษา
29.ถ้าผลการศึกษาแสดงความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ จะสามารถตีความหมายว่ามีนัยสำคัญทางปฏิบัติหรือไม่
    อันนี้ต้องใช้สมองอย่างมาในการคิดเลยครับว่าผลการศึกษามันเอาไปใช้ได้จริงรึเปล่า

30.การสรุปผลถูกต้องเหมาะสมกับผลการศึกษาที่นำเสนอหรือไม่
    ไม่ได้อ่านครับเพราะสรุปเองเป็นส่วนใหญ่ (ที่จริงอ่านเหมือนกันแต่ข้ามมากเลย)

31.การสรุปผลการศึกษาถูกต้องเหมาะสมกับสมมติฐานที่ตั้งขึ้นหรือไม่
    เราต้องอ่านแล้วตีความให้ได้ว่ามันบอกอะไร แล้วเกี่ยวข้องยังไงอันนี้ต้องทำอยู่แล้วเวลาที่อ่าน

32.การอภิปรายผลมีการกล่าวถึงผลการศึกษาว่าเป็นความสืบเนื่องจากผลการศึกษาอื่น ที่มีการดำเนินการมาก่อนหรือไม่ และมีการเปรียบเทียบผลกับการศึกษาอื่นที่มีผลการศึกษาตรงกันข้ามหรือไม่
   ถ้าผลเค้าดีจริงพวกนี้ชอบคุยอยู่แล้วว่า Paper นี้ดีเท่า Paper นั้น Paper นี้

33.การอภิปรายมีการสรุปคร่าวๆ ถึงข้อบกพร่องจากการศึกษาครั้งนี้หรือไม่
     ถ้าไม่บอกเป็นหน้าที่ใครล่ะเนี่ยที่ต้องหา ก็คนอ่านนี่ล่ะครับที่เป็นคนหา

    พอสรุปทั้ง 33 ข้อแล้วเราก็จะเห็นทั้งส่วนที่จำเป็นและไม่จำเป็น (ใช้วิจารณญาณของท่านเองนะครับ) โดยส่วนตัวผมแล้วการนำเสนอ JC นั้นถ้าใช้เวลาไม่นานเราจะทำยังไงล่ะที่นี้ เราก็ต้องเอาทั้ง 33 ข้อมาสอดแทรกเข้าไปตอน Present Paper นั่นล่ะครับจะได้ไม่เป็นการเสียเวลาแล้ว

    สำหรับตัวผมเองหัวใจสำคัญของการทำ JC คือ การอ่านสรุปและตีความข้อมูลเพื่อนำไปใช้กับผู้ป่วยจริงๆ ดังนั้นผมเลยคิดว่า 33 ข้อที่ประเมินยังไม่ได้ตอบคำถามในส่วนนี้เท่าไหร่นัก การอ่านบทความเพื่อนำมาใช้นั้นเราจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของยามาก่อนเป็นอันดับ 1 ว่าทำไมต้องใช้มีแนวคิดอะไร ใช้ยาในกลุ่มอื่นได้หรือไม่ หรือมีอะไรที่แอบแฝงในบทความที่เราอ่านรึเปล่า อันนี้ล่ะครับเป็นสิ่งที่เราต้องคิดมากกว่าการเอาเวลาไปนั่งค้นประวัติผู้ทำการทดลอง ผู้สนับสนุน หรือหาว่าจริงๆ แล้ว Blind ทั้งสองฝ่ายหรือ Blind คนที่เป็น Investigator หรือไม่ หรือมัวมานั่งหาว่าทำไมแต่ละศูนย์จึงมี Variation แทนที่จะไปสนใจเรื่องของเราก่อนคือเรื่องยานะครับ

    ป.ล. ถ้าใครไม่เคยทำคงไม่รู้สึกอะไรมาก แต่ใครเคยทำมาแล้วคำถามแรกที่จะวิ่งเข้ามาในหัว คือ ทำไปเพื่ออะไรเนี่ย +____+ ไม่ต้องคิดมาครับเอาเป็นประสบการณ์ชีวิตครับ